มาเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลให้กับ Smartphone กันดีกว่า

มาเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลให้กับ Smartphone กันดีกว่า



สำหรับ Tablet และ Smartphone นั้น นอกจากเรื่องของความเร็ว และการแสดงผลที่ดีแล้ว พื้นที่เก็บข้อมูลก็ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ถึงขนาดที่ว่าพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดราคา Tablet และ Smartphone เลยทีเดียว พื้นที่เก็บข้อมูลภายในเครื่องส่วนใหญ่มักจะมีขนาด 4GB, 8GB, 16GB, 32GB เป็นต้น สำหรับราคานั้นก็จะสูงขึ้นตามจำนวนที่มากขึ้น

สำหรับ Tablet และ Smartphone ที่มีพื้นที่น้อยนั้น จะยังไม่เกิดปัญหาเมื่อซื้อเครื่องมาในครั้งแรก เนื่องจากยังไม่ได้มีการติดตั้ง Apps มากมายนัก แต่พอใช้งานไปสักระยะก็เริ่มที่จะติดตั้ง Apps และเกมส์ต่าง ๆ ตามความต้องการจนมีผลทำให้หน่วยความจำภายในเครื่องใกล้เต็ม ซึ่ง Android ก็จะแสดงข้อความเตือนเราเป็นระยะ หลาย ๆ คนก็มักจะหาทางออกโดยการซื้อหน่วยความจำภายนอกที่เรียกกันว่า SD-Card มาติดตั้งเพิ่มเข้าไป

การติดตั้ง SD-Card นั้นถือเป็นทางออกทางหนึ่งก็จริง แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เนื่องจาก SD-Card นั้นสามารถเสียเมื่อไหร่ก็ได้นั่นเอง ซึ่งจากประสบการณ์ตรงของผมแล้ว Micro SD-Card ที่ผมใช้งานนั้นเสียมาแล้วถึง 2 ครั้ง หรือบางครั้งอาจจะไม่เสียแต่มันเกิดอาการผิดพลาดจนต้อง Format SD-Card ซึ่งเราก็ทราบดีกันอยู่แล้วว่าการ Format นั้นสามารถทำให้ SD-Card กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง แต่ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องเสียเวลามานั่งกู้กันอีก แน่นอนว่าข้อมูลที่กู้คืนมานั้นไม่ครบถ้วนอย่างแน่นอน สำหรับคนที่ไม่สามารถกู้ข้อมูลเองได้ก็ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

จากที่ได้เขียนเกริ่นนำมาเสียยืดยาว ก็เพื่อต้องการให้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Smartphone ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลน้อย และเราจะแก้ปัญหานี้กันด้วยการหาพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มกัน โดยการเก็บข้อมูลขึ้นสู่อินเตอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า Cloud Storage หรือ Cloud Computing กันบ่อย ๆ อยู่แล้ว เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้อย่าเพิ่งถอดใจว่าจะทำได้จริงหรือไม่ ขอให้อ่านต่อไปอีกนิด แล้วคุณจะรู้ว่ามันไม่ยากเลยสักนิด

เริ่มจากสมัคแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตแบบ Unlimited Package ในราคาประหยัดก็ได้อาจจะเริ่มต้นที่ 299 บาทต่อเดือน Package เหล่านี้มักจะใส่ค่าโทรมาให้อยู่แล้ว เช่นโทรฟรี 100 นาที คุณอาจจะได้ 3G ประมาณ 500 MB และใช้ข้อมูลไม่จำกัดที่ความเร็ว 64 kbps, 128 kbps เป็นต้น เมื่อสมัครแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตเสร็จเรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปให้คุณใช้บริการเว็บไซต์รับฝากไฟล์ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก บริการเหล่านี้ฟรี

จริง ๆ แล้วก็ไม่ค่อยอยากเรียกว่าเว็บฝากไฟล์เท่าไหร่นัก เนื่องจากปัจจุบันนี้เว็บไซต์เหล่านี้มีความสามารถมากกว่าเว็บฝากไฟล์ในอดีตอยู่มาก ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า Cloud Computing มากกว่า เว็บที่ได้รับความนิยมได้แก่ Google Drive, Dropbox, Sugarsync, OneDrive, Flickr, 4shared, Mediafire เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะยังมีเว็บไซต์ที่ให้บริการแบบนี้เป็นจำนวนมาก สำหรับพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นในแต่ละเว็บไซต์จะให้ไม่เท่ากัน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 2 GB ไปจนถึง 1 TB เลยทีเดียว ซึ่งขอย้ำว่าบริการเหล่านี้ฟรี

โดยเริ่มจากติดตั้ง App ดังกล่าวบน Tablet หรือ Smartphone จากนั้นก็สมัครสมาชิกผ่าน App ที่เราติดตั้ง และเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่เราสมัครเอาไว้ เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้น Upload รูปภาพทั้งหมดขึ้นไปเก็บไว้บนเว็บไซต์ที่คุณสมัคร และลบรูปภาพบนสมาร์ทโฟนทิ้งได้เลย  ซึ่งจะทำให้พื้นที่บน Tablet หรือ Smartphone มีที่ว่าเพิ่มมากขึ้น 

ข้อควรระวัง ทุก ๆ เว็บไซต์จะมีขนาดของรูปภาพที่อนุญาตให้นำไปวาง เราควรเช็ครายละเอียดของแต่ละเว็บไซต์ให้ดีเสียก่อนว่าขนาดรูปภาพที่อนุญาตมีขนาดเท่า เมื่อ Upload ได้แล้วจึงค่อยลบรูปภาพบนสมาร์ทโฟนออก จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Android Apps - ใส่วันที่บนภาพถ่ายด้วย วันที่ + เวลารูปภาพ

ใส่วันที่บนภาพถ่ายด้วยแอพ In Timestamp Camera Free

ประโยชน์ของสมาร์ทโฟน