Gmail กับบริการต่างๆของ Google

Gmail กับบริการต่างๆของ Google




ในอดีตนั้น internet มีความเร็วน้อยกว่าในปัจจุบันเป็นอย่างมาก การสื่อสารด้าย email ในอดีตจึงทำได้เพียงการส่งข้อความ และรูปภาพ แต่เมื่อ internet มีความเร็วมากขึ้น ทำให้บริษัทผู้ให้บริการฟรี email ต่างๆ หันมาเพิ่มบริการใน email ของตนเองมากขึ้น สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึง gmail ซึ่งเป็นฟรี email ยอดนิยมในปัจจุบัน

เมื่อคุณสมัคร gmail เสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่คุณจะได้รับก็คือ Account หรือเรียกว่าบัญชีผู้ใช้ โดยจะมีชื่อผู้ใช้ (username) และ รหัสผ่าน (password) สำหรับเข้าสู่ระบบ ในปัจจุบันมีบริการของ google มากมายที่คุณสามารถใช้ gamil account ของคุณเข้าใช้งานเช่น google+, Youtube, Drive, Picasa เป็นต้น

Google+ คือบริการสังคมออนไลน์ (Social network) เช่นเดียวกับ Facebook ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีสิ่งที่น่าใช้งานอยู่มากมาย เช่น Hangout ที่ช่วยให้สามารถพูดคุยกับเพื่อน ๆ เป็นกลุ่มในรูปแบบ VDO ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อีกด้วย เช่น การประชุมทางไกล เป็นต้น

Youtube บริการนี้ไม่ต้องอธิบายก็คงทราบกันดีอยู่แล้ว ว่ามันคือบริการแบ่งปันวีดีโอบนโลก Internet ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หากคุณเข้าสู่ระบบด้วย gmail account ของคุณ ๆ สามารถ Upload หรือที่เรียกว่าการส่งไฟล์วีดีโอขึ้นไปยัง Youtube เพื่อเผยแพร่วีดีโอได้ทันที

Google Drive บริการนี้ถือว่ายอดเยี่ยมมาก นอกจากที่คุณจะฝากไฟล์เอกสารต่าง ๆ ของคุณเอาไว้บน Google Drive ได้แล้ว คุณยังสามารถสร้างเอกสาร บน Google Drive ได้อีกด้วย

Picasa บริการดี ๆ ที่คุณสามารถแชร์ภาพถ่ายของคุณให้กับเพื่อน ๆ หรือ บุคคลในครอบครัวได้ง่ายขึ้นเพียง Upload รูปภาพของคุณขึ้นไปยัง Picasa คุณก็สามารถแบ่งปันรูปภาพได้แล้ว 

บริการต่าง ๆ ที่กล่าวในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น Google ยังมีบริการอื่น ๆ อีกมากมาย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การสมัคร Gmail เพียงครั้งเดียว สามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่กล่าวมาได้ทั้งหมด นอกจากนี้บริการเหล่านี้ยังมี App ซึ่งคุณสามารถ Download มาใช้งานบนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Android ได้อีกด้วย

หากคุณยังไม่มี Gmail อ่านวิธีสมัคร Gmail ได้ที่นี่ >> วิธีสมัคร Gmail

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของสมาร์ทโฟน

Android Apps - ใส่วันที่บนภาพถ่ายด้วย วันที่ + เวลารูปภาพ

พาธ (path) คืออะไร